ประวัติและผลงาน“อาจารย์ไพฑูรย์ เข้มแข็ง”
ประวัติส่วนตัว
อาจารย์ไพฑูรย์เข้มแข็งเกิดเมื่อวันที่๑๒กันยายนพ.ศ.๒๔๙๔ ณ อำเภอบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบิดาชื่อนายใหญ่เข้มแข็งมารดาชื่อนางเสวียงเข้มแข็งบิดามารดามีอาชีพค้าขายและทาสวนมีพี่น้องรวมทั้งหมด๙คนต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๒๔อาจารย์ไพฑูรย์เข้มแข็งได้เข้าพิธีสมรสกับนางสาวศิริพรพงษ์กิตติโรจน์ซึ่งทางานอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีบุตรธิดา๒คนคือนางสาวพัชรพรรณเข้มแข็งและนายรัฎฐพงศ์เข้มแข็ง
ประวัติการทำงาน
ในขณะที่อาจารย์ไพฑูรย์เข้มแข็งได้ศึกษาอยู่ในระดับชั้นสูงปีที่๒นั้นท่านได้รับคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานราชการในตำแหน่งศิลปินสารองแผนกนาฏศิลป์กองการสังคีตกรมศิลปากรกระทรวงศึกษาธิการตามนโยบายของนายธนิตอยู่โพธิ์ซึ่งในขณะนั้นดารงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรซึ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีฝีมือทางด้านการแสดงเข้าบรรจุรับราชการนับได้ว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของอาจารย์ไพฑูรย์เข้มแข็งในการปฏิบัติหน้าที่การทางานอย่างจริงจังโดยท่านได้รับเงินเดือนจากการปฏิบัติงานครั้งแรกเป็นจานวน๕๔๐บาทจากการที่ท่านได้ฝึกปฏิบัติงานในขณะที่เรียนอยู่นั้นทาให้ท่านเป็นผู้มีระเบียบวินัยทั้งในด้านของการทางานและการเรียนนอกจากนั้นท่านยังได้นำความรู้จากประสบการณ์ด้านการแสดงบนเวทีผสมผสานกับการเรียนรู้ในห้องเรียนไปพร้อมกันทำให้อาจารย์ไพฑูรย์เข้มแข็งได้พัฒนาทักษะและฝีมือจนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกทั้งยังเป็นผู้มีความรู้ความสามารถอีกท่านหนึ่งของวงการนาฏศิลป์ไทยตลอดระยะเวลา๔๐กว่าปีที่ผ่านมาอาจารย์ไพฑูรย์เข้มแข็งมีผลงานการแสดงที่ออกสู่สายตาประชาชนมากมายทั้งการแสดงโขนและละครโดยท่านมักจะได้รับเลือกให้แสดงในบทบาทนายโรงหรือตัวละครเอกของเรื่องอยู่เสมอๆท่านเป็นผู้มีความสามารถในการแสดงและสามารถแสดงได้ถึงบทบาทของตัวละครนั้นๆโดยบทบาทที่อาจารย์ไพฑูรย์เข้มแข็งเคยได้รับมีอยู่มากมาย
ผลงานด้านการสร้างสรรค์
นอกจากอาจารย์ไพฑูรย์เข้มแข็งจะเป็นศิลปินที่มากความสามารถและประสบการณ์แล้วท่านยังได้สร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์อันทรงคุณค่าได้แก่
1.การรำเดี่ยวมาตรฐานชุดพระลักษณ์ลงสรง
2.ราเทพประทานพรในงานฉลอง๕ธันวามหาราชพ.ศ.๒๕๕๑ณสวนอัมพร
3.ตระพระพิรุณให้แก่ชมรมนาฏศิลป์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยทางชมรมนาฏศิลป์ได้เรียนเชิญอาจารย์เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าราตระพระพิรุณซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4.ราเทพประทานพรในงานสมโภชอง๕พระคเณศร์ณวิทยาลัยนาฏศิลป์ศาลายาในวันที่๒กันยายนพ.ศ.๒๕๕๓
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น