วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

ระบำพรหมาสตร์+เพลง

เขียนโดย -Heart- ที่ 07:29



 


 


ประวัติที่มา

           พรหมาสตร์ แปลว่าศรแห่งพระพรหม เป็นศรที่พระพรหมสร้างขึ้น.ศรพรหมาสตร์เป็นศัตราวุธที่มี อานุภาพทำลายล้างสูง ไม่มีสิ่งใดต้านทานได้ ตามคัมภีร์ปุราณะ มีแต่ไม้เท้าพรหมทัณฑ์ของฤๅษีวสิษฐ์เท่านั้นที่จะต้านอำนาจของศรพรหมาสตร์ ได้ ส่วนรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ ๑ ว่า ศรพรหมาสตร์สามารถล้างศรพรหมาสตร์ด้วยกันเองได้ ศรพรหมาสตร์นั้นเมื่อแผลงออก ก็เกิดเสียงสะเทือนเลื่อนลั่น [ผู้ใช้ศรสามารถบังคับให้แล่นไปสังหารศัตรูได้ดังใจแม้จะไม่เห็นกายศัตรูก็ ตามและยังอาจ]บันดาลเป็นลูกศร[หรือศัตราวุธนานาชนิด]กลาดเกลื่อนเต็มท้องฟ้าและ พุ่งอย่างรวดเร็วไปพิฆาตหมู่ศัตรู

           ระบำพรหมาสตร์ เป็นระบำของเหล่าเทวดา - นางฟ้าอีกชุดหนึ่งสำหรับแสดงประกอบการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ เนื่อเรื่องกล่าวถึงอินทรชิตโอรสของทศกัณฐ์ กำลังทำสงครามติดพันอยู๋กับพระลักษมณ์จึงใช้กลยุทธลวงพระลักษมณ์และกองทัพวานรโดยอินทรชิตได้แปลงกายเป็นพระอินทร์ เจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และให้การุณราชแปลงตัวเป็นช้างเอราวัณ ซึ่งเป็นพาหนะทรงของตน อีกทั้งให้บรรดาพลยักษ์นักรบในกองทัพแปลงกายเป็นเทพบุตร และนางฟ้า พากันเหาะฟ้อนรำ นำ ขบวนไปหน้าช้างเพื่อลวงพระลักษมณ์และกองทัพวานรว่าขบวนเสด็จของพระอินทร์ กำลังเสด็จผ่านมาในกลางอากาศอินทรชิตหวังสบโอกาสเหมาะจะลอบใช้สรพรหมาสตร์ แผลงสังหารณ์พระลักษมณ์ และพลวานร ด้วยเหตุนี้ ระบำชุดนี้จึงเรียกในวงการนาฏศิลป์ไทยอีกชื่อหนึ่งว่า "ระบำหน้าช้าง" น่าจะเป็นเพราะเรียกตามลักษณะระบำ ที่รำอยู่หน้าช้าง

            เอราวัณของ พระอินทร์แปลง กรมศิลปากรได้จัดโขนออกแสดงเป็นประจำทุกปี ซึ่งแต่ละชุดจะมีชั้นเชิงและลีลาลท่าทีของศิลปะที่แตกต่างกันไปตามเจตน์จำนง ของการจัด โดยมุ่งหมายให้เป็นการฝึกศิลปิน และนักเรียนของกรมศิลปากร เกิดความรู้ความชำนาญในการแสดงแต่ละชุดแต่ละตอน ซึ่งบางชุดก็เป็นการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ บางตอนก็สืบทอดกันมาโบราณ อีกทั้งยังต้องการเสนอให้ผู้ชมเห็นความหลากหลายของการแสดงโขนด้วย ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ กรมศิลปากรได้จัดการแสดงโขนชุดนี้ที่โรงโขนหลวง มิกสักวัน สนามเสือป่า ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๓ กรมศิลปากรจึงได้จัดการแสดงโขนชุดศึกพรหมาสตร์ขึ้นอีกวาระหนึ่งแต่ก็ยังคงรักษารูปแบบการแสดงศิลปะของเดิมไว้ด้วย ดังเช่นในองค์ที่ ๔ ศรพรหมาสตร์ ปรับปรุงโดย นายประพันธ์ สุคนธชาติท่านได้นำบทคอนเสิร์ตของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์มา ใ้ช้ทั้งหมด โดยแต่งคำเจรจาแทรกในตอนท้ายของระบำพรหมาสตร์

               โขนชุดนี้ได้ปรับปรุงการแสดง พิมพ์บท และฝึกซ้อม พร้อมทั้งจัดฉาก แล้วเตรียมแสดงเป็นประจำ ณ โรงละคอนศิลปากร แต่ต้องระงับไปชั่วคราว ด้วยเกิดเหตุไฟไหม้โรงละคอนศิลปากรในวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๓ การแสดงโขนชุดนี้จึงต้องย้ายไปจัดแสดง ณ หอประชุมวัฒนธรรม สนามเสือป่า (ปัจจุบันคือ ตึกกองบัญชาการ กรป.กลาง) แล้วภายหลังต่อมาโขนชุดนี้ก็ได้นำมาจัดแสดง ณ โรงละครแห่งชาติ และที่อื่น ๆ อีกหลายครั้ง ท่ารำของระบำพรหมาสตร์ชุดนี้ได้รับการถ่ายทอด แล้วสืบทอดมาโดยครูอาจารย์นวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร

รูปแบบ และลักษณะการแสดง

                 ระบำพรหมาสตร์ เป็นการแสดงกลลวงของฝ่ายยักษ์ (อินทรชิต) ที่จะทำลายกองทัพฝ่ายมนุษย์ (พระลักษมณ์) ลักษณะของระบำ จึงเป็นการร่ายรำอย่างวิจิตร สวยงาม เพื่อให้พระลักษมณ์ และพลวานรเคลิบเคลิ้มหลงใหลจนลืมหลงไม่ทันระวังตัวสามารถทำให้อินทรชิตแผลงศรไปสังหารพระลักษมณ์ และไพร่พลได้ ระบำชุดนี้เป็นระบำหมู่พระ - นางเริ่มด้วยการรำนำในขบวนทัพ และรำตามเนื้อร้องในเพลงสร้อยสน ซึ่งเนื้อเพลงมี ๔ คำกลอน กล่าวถึงเหล่าเทวดา - นางฟ้า มาจับรำระบำบรรพ์ อย่างรื่นเริงบันเทิงใจการแสดงระบำชุดนี้ใช้ประกอบการแสดงโขนโดยเฉพาะแต่ด้วยความเป็นมาตรฐานในท่ารำ และเพลงร้องระบำพรหมาสตร์จึงได้เป็นท่ารำชุดหนึ่งในหลักสูตรการศึกษา นาฏศิลป์ไทย

            สำหรับการแสดงระบำพรหมาสตร์จะปรากฏอยู๋ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรต์ตอนศึกพรหมาสตร์ ซึ่งเป็นการรำตามรูปขบวนเกียรติยศเครื่องสูง และมีการเรียงลำดับเพลงดนตรี เพลงร้องและกระบวนท่ารำเป็นขั้นตอน การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ รำออกตามทำนองเพลงสร้อยสน
ขั้นตอนที่ ๒ รำตามบทร้องในเพลงสร้อยสน
ขั้นตอนที่ ๓ รำเข้าตามทำนองเพลงเร็ว - ลา  

ดนตรีและเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง


           ใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง เพลงช้าสร้อยสน เพลงเร็ว (ชื่อเพลงต้นบรเทศ และเพลงแขกเบรเทศ) และเพลงลา

เครื่องแต่งกาย

ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง พระสวมเสื้อแขนสั้น ศิราภรณ์ชฎายอดชัย นางศิราภารณ์มงกุฎกษัตรีย์
 

โอกาสที่ใช้แสดง

ใช้ประกอบการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ขุนศึกพรหมาสตร์ หรือสำหรับการแสดงสาธิตระบำใบโขน


0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

 

MyHomeWork 6/8 Template by Ipietoon Blogger Template | Gift Idea